วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

Webblog ของวิชาสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์

 webbiog วิชาสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์

นาย นัทพงษ์ ใหญ่ยิ่ง
หมู่เรียน56/16
รหัสนักศึกษา564145125
สาขา โปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา(ค.บ.5ปี)

วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556

Port Output

สแกนเนอร์ (Scanner) 
Scanner คือ อุปกรณ์ต่อเชื่อมคอมพิวเตอร์แบบกราฟิก ที่มีหน้าที่ ในการเปลี่ยนแปลงภาพต้นฉบับ (รูปถ่าย ตัวอักษรบนหน้ากระดาษ ภาพวาด) ให้เป็นข้อมูล เพื่อให้คอมพิวเตอร์ สามารถนำข้อมูลดังกล่าว มาใช้ประโยชน์ ในการแสดงผลที่หน้าจอ ทำให้สามารถแก้ไข ตกแต่งเพิ่มเติม และจัดเก็บข้อมูลได้



ที่มาhttp://thepooh1414.wordpress.com/category/%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C-input/

Port Scanner

Port Scanning เป็นหนึ่งในเทคนิคที่โด่งดังที่สุดที่ผู้โจมตีใช้ในการค้นหาบริการ Service ที่พวกเขาจะสามารถเจาะผ่านเข้าไปยังระบบๆได้ โดยปกติแล้วทุก ๆ ระบบที่ต่อเข้าสู่ระบบ LAN หรือระบบอินเทอร์เน็ตจะเปิด service อยู่บน port ที่เปิดเป็นตัวเลขต่างๆสำหรับการทำ Port Scanning นั้น ผู้โจมตีจะสามารถค้นหาข้อมูลได้มากมายจากระบบของเป้าหมาย ได้แก่ บริการอะไรบ้างที่กำลังรันอยู่ ผู้ใช้คนไหนเป็นเจ้าของบริการเหล่านั้น สนับสนุนการล็อกอินด้วย anonymous (แบบไม่ประสงค์ออกนาม)หรือไม่ และบริการด้านเครือข่ายมีการทำ authentication หรือไม่ การทำ Port Scanning ทำได้โดยการส่งข้อความหนึ่งไปยังแต่ละพอร์ต ณ เวลาหนึ่ง ๆ ผลลัพธ์ที่ตอบสนองออกมาจะแสดงให้เห็นว่าพอร์ตนั้น ๆ ถูกใช้อยู่หรือไม่และสามารถทดสอบดูเพื่อหาจุดอ่อนต่อไปได้หรือไม่ Port Scanners มีความสำคัญต่อผู้ชำนาญด้านความปลอดภัยของเครือข่ายมากเพราะว่ามันสามารถเปิดเผยจุดอ่อนด้านความปลอดภัยที่มีความเป็นไปได้ของระบบเป้าหมาย 
ถึงแม้ว่า Port Scans สามารถเกิดขึ้นกับระบบของคุณ แต่ก็สามารถตรวจจับได้และก็สามารถใช้เครื่องมือที่เหมาะสมมาจำกัดจำนวนของข้อมูลเกี่ยวกับบริการที่เปิดได้ ทุกๆระบบที่เปิด สู่สาธารณะจะมีพอร์ตหลายพอร์ตที่เปิดและพร้อมให้ใช้งานได้ (ต้องรู้ว่าแต่ละ port ที่เิปิดนั้นคือบริการอะไร) ซึ่งตรงนี้คุณต้องทำการกำหนดสิทธิ์ต่างในแต่ละ port และจำกัดจำนวนพอร์ตที่จะเปิดให้แก่ผู้ใช้ที่ได้รับอนุญาตและปฏิเสธการเข้าถึงมายังพอร์ตที่ปิด

ที่มาhttp://how2hack.net63.net/Scaning.html

Port Digital Camera

พอร์ตที่เรียกว่าเป็นอาร์ซีเอหรือพอร์ตวิดีโอส่วนที่มีร่วมกันในระดับ high-end กล้องวิดีโอดิจิตอล พวกเขาใช้ชุดของสามหลุมสีสำหรับติดสายสามง่าม (หรือชุดของสายเดียวง่าม) พอร์ต A / V ที่ใช้พอร์ตสีแดงและสีขาวสำหรับทั้งสองช่องทางของเสียงและพอร์ตสีเหลืองที่สามสำหรับวิดีโอ กล้องบางรวมทั้งยังมี S-วิดีโอหรือ HDMI พอร์ตวิดีโอสำหรับการเชื่อมต่อโดยตรงไปยังดาดฟ้าโทรทัศน์หรือวิดีโอ

ที่มา: http://www.ehow.com/list_7298714_types-camera-port-connections.html#ixzz2ewGRb9TB

Port Digital Audio

Port Digital Audio
อินเตอร์เฟซอนุกรมสำหรับการถ่ายโอนเสียงดิจิตอลจากเครื่องเล่น CD และ DVD เพื่อขยายเสียงและทีวี S / PDIF โดยปกติจะใช้ในการส่ง PCM และ Dolby Digital 5.1 แต่ไม่ผูกติดอยู่กับอัตราการสุ่มตัวอย่างหรือเสียงมาตรฐานS / PDIF ใช้ไม่สมดุล 75 โอห์มคู่สายได้ถึง 10 เมตรด้วยการเชื่อมต่อที่อาร์ซีเอหรือใยแก้วนำแสงสิ้นสุดลงด้วย TOSLINK ( โตชิบา Link) การเชื่อมต่อ ดู AES / EBUและ TOSLINK . AES / EBU AES / EBU เป็นรุ่นระดับมืออาชีพของ S / PDIF และใช้สัญญาณแรงดันไฟฟ้าที่สูงขึ้น พวกเขาทั้งสองสนับสนุนข้อมูลเสียงเดียวกันมีความแตกต่างเล็กน้อยในบิตกรอบ การแปลงระหว่างที่อินเตอร์เฟซเหล่านี้จะต้องได้รับการจัดการกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ไม่ได้โดยการปรับตัวต่อหนึ่งไปยังอีก
ที่มาhttp://encyclopedia2.thefreedictionary.com/digital+audio+port

Port Digital Video

Port Digital Video
พอร์ตสำหรับต่อสายสัญญาณภาพ กับจอคอมพิวเตอร์ ลักษณะของพอร์ตจะเป็นพอร์ตแบบตัวเมียมีรู 15 รู สำหรับพอร์ตนี้ จะมีอยู่เฉพาะในเมนบอร์ดรุ่นที่รวมเอาการ์ดแสดงผลเข้าไปกับเมนบอร์ดด้วย (VGA Onboard)
ที่มาhttp://xn--l3cjd0am3d7g6d.blogspot.com/2010/05/ps2-mouse-ps2-keyboard-port.html

Port Keyboard

PS/2 Portเป็นพอร์ตที่ใช้เชื่อมต่อกับเมาส์หรือคียบอร์ดภายนอก เนื่องจากคียบอร์ดในตัวของ Panel PC ไม่สะดวกเหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ PC ซึ่งทำให้ใช้งานไม่คล่องตัว และการใช้ Touch Screen ของ Panel PC ก็สะดวกสู้การใช้เมาส์ไม่ได้ แต่ในปัจจุบันคีย์บอร์ดและเมาส์ที่มีการเชื่อมต่อผ่านพอร์ต USB มีขายมากมายตามท้องตลาด ดังนั้นปัจจุบันจึงไม่พบพอร์ตชนิดนี้สักเท่าไร









Port Mouse

Port Mouse
พอร์ต PS/2 จะเป็ นทีjรู้จักกันในฐานะของช่องเชื่อมต่อสําหรับเมาส์ เนื่องมันเป็ นพอร์ตพิเศษที่ใช้
สําหรับเชื่อมต่อเมาส์ หรือคีย์บอร์ดเข้ากับคอมพิวเตอร์ พอร์ตชนิดนี )จะทํางานร่วมกับปลัaก DIN ขนาดเล็กที่ภายในมี
เข็มสัญญาณ 6 เข็ม เรียงตัวกันเป็ นวง นอกจากนี )เราสามารถจดจําหน้าที่ของพอร์ต PS/2 จากสีของมันก็ได้ โดย
พอร์ตที่เชื่อมต่อกับเมาส์จะใช้สีเขียว ส่วนคีย์บอร์ดจะเป็ นสีม่วง

ที่มาบทความhttp://www.phayaoskill.go.th/comdep/pckp30Hr/dl/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0port%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%86.pdf

ที่มารูปภาพhttp://www.computerports.net/ps2-port/

วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556

วิวัฒนาการ Port USB

พอร์ตยูเอสบี (USB Port)

     พอร์ตยูเอสบี เป็นพอร์ตแบบใหม่ล่าสุด ที่ถูกออกแบบมาให้ใช้กับพีซีคอมพิวเตอร์ ให้สามารถรับส่งข้อมูลให้รวดเร็วขึ้น สามารถต่ออุปกรณ์ได้มากถึง 127 ชิ้น เพราะมีแบนด์วิดธ์ในการรับส่งข้อมูลสูงกว่า พอร์ตแบบนี้ถูกออกแบบมาให้ใช้กับระบบปลั๊กแอนด์เพลย์บนวินโดวส์ 98 ปัจจุบัน มีฮาร์ดแวร์จำนวนมากที่สนับสนุนการเชื่อมต่อแบบนี้ เช่น กล้องดิจิตอล เมาส์ คีย์บอร์ด จอยสติ๊ก สแกนเนอร์ ซีดีอาร์ดับบลิว เป็นต้น สำหรับคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ จะมีพอร์ตแบบนี้จะมีพอร์ตแบบนี้อยู่ในเครื่องเรียบร้อยแล้ว
  คอมพิวเตอร์ปกติจะมี 2 USB Port ถ้าเป็นเครื่องรุ่นเก่าที่ไม่มี USB สามารถหาซื้อการ์ด USB มาติดตั้งได้
  เป็นช่องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ สูงประมา 3-5 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 1-2 เซ็นติเมตร
  พอร์ตชนิดใหม่รับส่งความเร็วได้สูงกว่า port ทั่ว ๆ ไป
  สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่อเนื่องได้ 127 ตัว
  เป็นมาตราฐานใหม่ที่มีมากับเครื่องคอมพิวเตอร์
  การติดตั้ง เพียงต่ออุปกรณ์เข้ากับ USB port ก็สามารถใช้งานอุปกรณ์นั้นๆ ได้ โดยไม่จำเป็นต้อง boot เครื่องใหม่


Port Fire Wire

เทคโนโลยี IEEE 1394 (Fire Wire) เป็นมาตรฐานการเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกความเร็วสูง และยังเป็นที่นิยมอย่างมากในกลุ่มของอุปกรณ์ที่ต้องการอัตราการส่งผ่าน ข้อมูลสูงๆ เช่น การ์ดตัดต่อวิดีโอหรืออุปกรณ์แบ็กอัพข้อมูลขนาดใหญ่ IEEE 1394 นั้นถูกออกแบบให้เป็นบัสอนุกรมประสิทธิภาพสูง มีลักษณะการทำงานในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ ที่จะใช้การต่อเชื่อมเป็นแบบอนุกรม ซึ่งถูกพัฒนาให้มีการส่งผ่านข้อมูลสูงถึง 800 Mbps โดยเรียกกันว่า IEEE 1394 , Fire Wire หรือ I-link ซึ่งเป็นชนิดเดียวกัน
Fire Wire นั้นเป็นชื่อที่จดทะเบียนทางการค้าของ Apple Computer Inc. ส่วน i-link เป็นชื่อที่จดทะเบียนทางการค้าของ Sony Corporation และสุดท้าย IEEE-1394a (Fire Wire400) และ IEEE-1394b (Fire Wire800) เป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อของกลุ่ม IEEE ซึ่งเป็นมาตรฐานของการรับ-ส่งข้อมูลขนาดใหญ่ และความเร็วสูง ระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ
การเชื่อมต่ออีกรูปแบบที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาภายหลังและมีการนำเอามาเปรียบ เทียบกันมากก็คือ มาตรฐาน USB 2.0 ซึ่งได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ แต่จะอยู่ในกลุ่มของอุปกรณ์ต่อพ่วงอย่าง เมาส์, พรินเตอร์ หรือ สแกนเนอร์ โดยจำกัดอยู่ในกลุ่มที่เคยใช้การเชื่อมต่อแบบ USB 1.1 เพราะว่า USB 2.0 ถึงแม้จะมีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลสูงสุดอยู่ที่ 480Mbps (Fire Wire อยู่ที่ 400Mbps) แต่เมื่อใช้งานจริง Fire Wire กลับมีความเร็วเหนือกว่า เพราะว่าโปรแกรมต่างๆ ในปัจจุบัน สามารถดึงเอาประสิทธิภาพการทำงานของ Fire Wire ออกมาได้มากกว่า (แอพพลิเคชันสำหรับการตัดต่อจากกล้องวิดีโอส่วนใหญ่จะถูกออกแบบมาให้ทำงาน ร่วมกับ Fire Wire มากกว่า) และยังมีข้อเปรียบเทียบอีกอย่างก็คือ USB สามารถใช้งานได้ 1 อุปกรณ์ต่อ 1 พอร์ต USB เท่านั้น (ไม่รวมกรณีที่ใช้ USB hub) ดังนั้นคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่จึงมีพอร์ต USB ติดมากับเครื่องเยอะ (อย่างต่ำๆ ก็ 4 พอร์ต) ส่วนการใช้ USB hub ถึงแม้ว่าจะสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้หลายตัวแต่ก็จะทำให้ความเร็วในการใช้ งานลดลง แต่สำหรับ Fire Wire นั้น เนื่องจากใช้พื้นฐานการเชื่อมต่อแบบ Serial (อนุกรม) ทำให้สามารถต่ออุปกรณ์หลายๆ ตัวเรียงกันเป็นลูกโซ่ได้ ซึ่งทำให้สามารถใช้พอร์ต Fire Wire พอร์ตเดียวเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้หลายชนิด แต่ข้อเสียก็คือผู้ใช้จะต้อง อินเทอร์รัปต์ อุปกรณ์ทุกตัวที่ทำการเชื่อมต่อเสียก่อนจึงทำการถอดอุปกรณ์ตัวนั้นๆ ออกได้
ในปัจจุบัน Fire Wire ได้รับความนิยมจากผู้ผลิตอุปกรณ์ประเภทตัดต่อ แต่ก็เห็นได้ว่าคลื่นลูกหลังอย่าง USB 2.0 ก็ได้รับความนิยมมากเช่นกัน ซึ่งทำให้กลุ่มผู้พัฒนามาตรฐาน
Fire Wire ได้เปิดตัวมาตรฐาน IEEE 1394b ตัวใหม่ที่สามารถรองรับความเร็วการส่งผ่านข้อมูลได้สูงถึง 800Mbps (S800) และ 1600Mbps (S1600)


ที่มาhttp://www.overclockzone.com/forums/showthread.php/784838-Firewire-port-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3

VGA Port

พอร์ตนี้สำหรับต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับมอนิเตอร์ เป็นพอร์ตขนาด 15 พิน ในคอมพิวเตอร์บางเครื่องอาจจะติดตั้งการ์ดสำหรับถอดรหัสสัญญาณ MPEG เพิ่มเข้ามาซึ่งลักษณะของพอร์ตนั้นจะคล้าย ๆ กันแต่การ์ด MPEG จะมีพอร์ตอยู่สองชุดด้วยกันสำหรับเชื่อมไปยังการ์ดแสดงผลหนึ่งพอร์ต และต่อเข้ากับมอนิเตอร์อีกหนึ่งพอร์ต ดังนั้นเครื่องใครที่มีพอร์ตแบบนี้ ก็ควรจะบันทึกไว้ด้วย เพราะไม่งั้นอาจจะใส่สลับกัน จะทำให้โปรแกรมบางตัวทำงานไม่ได้

Serial Port

Serial Port คือ พอร์ตอนุกรม ในการสื่อสารข้อมูลนั้นพอร์ตอนุกรมจะมีความเร็วในการสื่อสารที่ช้ากว่าแบบ ขนาน เพราะการเคลื่อนย้ายข้อมูลแบบอนุกรมนั้นเป็นการส่งข้อมูลครั้งละ 1 บิต แต่พอร์ตขนานนั้นสามารถส่งข้อมูลทีละหลายๆ บิทพร้อมๆกันได้ แต่ข้อดีของการสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรมคือ สามารถส่งข้อมูลได้ในระยะทางที่ไกลกว่าแบบขนาน และใช้สายสัญญาณที่น้อยกว่าการสื่อสารข้อมูลแบบขนาน
ประเภทของการสื่อสารแบบอนุกรมแบ่งตามลักษณะสัญญาณในการส่งแบ่งได้ 2 แบบ คือ
1.การสื่อสารแบบซิงโครนัส (Synchronous) เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยใช้สัญญาณนาฬิกาในการควบคุมจังหวะของการรับส่งสัญญาณ
2.การสื่อสารแบบอะซิงโครนัส (Asynchronous) เป็นการสื่อสารที่ใช้สายข้อมูลเพียงตัวเดียว จะใช้รูปแบบของการส่งข้อมูล(Bit Pattern) เป็นตัวกำหนดว่าส่วนไหนเป็นส่วนเริ่มต้นข้อมูล ส่วนไหนเป็นตัวข้อมูล ส่วนไหนจะเป็นตัวตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และส่วนไหนเป็นส่วนปิดท้ายของข้อมูล โดยต้องกำหนดให้สัญญาณนาฬิกาเท่ากันทั้งภาคส่งและภาครับ
สำหรับการติดต่อสื่อสารลักษณะนี้จะใช้การรับส่งข้อมูลแบบ Asynchronous คือจะใช้สายข้อมูลเพียงสายเดียว
มาตรฐาน RS-232 เป็นมาตรฐานของการรับส่งข้อมูลแบบอนุกรมที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อที่จะทำ ให้อุปกรณ์ต่อพ่วงจากผู้ผลิตต่างกันสามารถทำงานร่วมกันได้ มาตรฐานRS-232 นี้ได้รับความนิยมและใช้กันกว้างขวางมากในปัจจุบัน ซึ่งสามารถแบ่งอุปกรณ์ได้เป็น 2 ประเภทคือ
1. อุปกรณ์ DTE (Data Terminal Equipment) เป็นอุปกรณ์สำหรับส่งข้อมูล (Output) โดยทั่วไปคอนเน็กเตอร์จะเป็นตัวผู้
2. อุปกรณ์ DCE (Data Communication Equipment) เป็นอุปกรณ์สำหรับรับข้อมูล (Input) โดยทั่วไปคอนเน็กเตอร์จะเป็นตัวเมีย
คอน เน็กเตอร์ที่นิยมใช้จะเป็นชนิด D-Type แบบ 9 ขา และแบบ 25 ขา โดยจะติดตั้งอยู่หลังเครื่องคอมพิวเตอร์ ระดับแรงดันจะมีค่าระหว่าง -3 โวลต์ ถึง-15โวลต์

ที่มาhttp://guru.google.co.th/guru/thread?tid=54bef6a1b5c0b594

Port HDMI

HDMI

HDMI เป็นมาตรฐานการส่งข้อมูลที่ทาง Sony, Hitachi, Thomson (RCA), Philips, Matsu***a (Panasonic), Toshiba และ Silicon Image ได้พัฒนาขึ้น โดยชื่อ HDMI นี้เป็นตัวย่อที่ย่อมาจาก High-Definition Multimedia Interface  ซึ่งความหมายของมันก็ตรงประเด็นครับ   คือเป็นการเชื่อมต่อสำหรับมัลติมีเดียความละเอียดสูงนั่นเอง และด้วยความที่มันได้รับการออกแบบมาเพื่อรองรับมัลติมีเดียนั่นเอง

       จึงทำให้มันมีจุดเด่นตรงที่มันรองรับการส่งทั้งสัญญาณภาพและเสียงไปพร้อมๆ กันบนสายเคเบิลเส้นเดียวกัน ผ่านพอร์ตๆ เดียวกัน ซึ่งเป็นการเพิ่มความสะดวกสบายและลดความสับสนในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ลงได้อย่างมากทีเดียว
      ด้วยจุดประสงค์หลักของ HDMI ที่ถูกพัฒนาขึ้นก็เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้บริโภค เพื่อให้ได้รับความบันเทิงเต็ม รูปแบบกับระบบภาพและเสียงแบบ High-Definition และระบบเสียงรอบทิศทาง ซึ่งถ้าเป็นเมื่อก่อนที่ยังไม่มีการเชื่อมต่อแบบ HDMI นั้น คุณอาจจะต้องเชื่อมต่อสัญญาณวิดีโอและสัญญาณเสียง อย่างน้อยก็ 2 ช่องทางแล้ว ยิ่งถ้าคุณต่อสัญญาณวิดีโอแบบ Component และใช้ระบบเสียงแบบ 5.1 หรือ 7.1-Channel ด้วยแล้ว จะต้องเชื่อมต่อสายเป็นสิบเส้นให้วุ่นวายไปหมด HDMI จึงช่วยให้ผู้ใช้เชื่อมต่อทุกอย่างได้ภายในสายเส้นเดียว เหมาะสำหรับพวกมีเดียเพลเยอร์ เครื่องเล่นเกมคอนโซล หรืออุปกรณ์ Set top box ต่างๆ ที่ต้องต่อเข้ากับทีวีอย่างยิ่ง
 
       คุณสมบัติของ HDMI       แน่นอนว่าการเชื่อมต่อแต่ละชนิดย่อมต้องมีขีดจำกัดที่ถูกกำหนดมาไว้ด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งนั้นก็คือคุณสมบัติของการเชื่อมต่อนั้นเอง      HDMI นี้ก็มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับอินเทอร์เฟซอื่นๆ แต่ด้วยความที่มันได้รับการออกแบบมาเพื่อรองรับ กับมัลติมีเดียระดับ High-Definition อยู่แล้ว มันจึงมีความสามารถในการส่งผ่านข้อมูลทั้งภาพวิดีโอและเสียงที่คุณภาพระดับ High-Definition ได้อย่างสบาย โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีการบีบอัดข้อมูลเลยการส่งสัญญาณภาพ       สำหรับการส่งภาพวิดีโอนั้นเนื่องจากแหล่งที่มาของข้อมูลภาพนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายแบบ ดังนั้นมันจึงจะถูกแปลงให้อยู่ในรูปแบบของ MPEG เสียก่อน เพื่อใช้สำหรับส่งข้อมูลไปตามสาย ซึ่งการส่งข้อมูลภาพวิดีโอแบบ MPEG ผ่าน HDMI นี้จะไม่มีการบีบอัดข้อมูลเลย ทำให้การสูญเสียคุณภาพนั้นไม่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นข้อดีอย่างหนึ่งของ HDMI นั่นเอง รูปแบบการส่งข้อมูลนั้นจะเป็นแบบ TMDS ซึ่งเป็นรูปแบบการส่งข้อมูลแบบอนุกรมแบบเดียวกับที่ใช้บนการเชื่อมต่อแบบ DVI นั่นแหละครับ

    HDMI    ก็จะมีการส่งสัญญาณวิดีโอที่คล้ายกับการเชื่อมต่อแบบ DVI ที่เราใช้งานกันอยู่นี่แหละครับ
ขีดความสามารถในการส่งผ่านภาพวิดีโอของ HDMI นั้นจะขึ้นอยู่กับเวอร์ชันของมาตรฐานด้วยเช่นกัน เนื่องจาก HDMI  เป็นมาตรฐานที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงมีเวอร์ชันที่ต่างกันอยู่พอสมควร แต่ทั้งนี้ทุกๆ เวอร์ชันก็ยังคงใช้งานสายเคเบิล แบบเดียวกันอยู่ เพียงแต่จะมีความสามารถในการส่งข้อมูลได้แตกต่างกันไป ตามเวอร์ชัน อย่างเช่นในเวอร์ชัน 1.0 ซึ่งเป็น เวอร์ชันแรก จะมีความเร็วในการส่งสัญญาณข้อมูลภาพอยู่ที่ 165 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งจะสามารถรองรับสัญญาณภาพแบบ  High-Definition ที่ความละเอียดสูงถึง 1080p ที่ 60 เฮิรตซ์ ได้ หรือระดับ WUXGA (1920x1080)  ซึ่งนั่นคือระดับความละเอียดสูงสุด แต่ถ้าต้องการความละเอียดที่สูงมากกว่านี้ก็จะต้องใช้อุปกรณ์ที่รองรับมาตรฐาน HDMI  ที่มีเวอร์ชันสูงขึ้นอย่างเช่น 1.3 ซึ่งเป็นเวอร์ชันล่าสุดจะมีความเร็วในการส่งข้อมูลที่ 340 เมกะเฮิรตซ์ และมีสามารถส่ง สัญญาณภาพที่ความละเอียดระดับ WQXGA (2560x1600) ได้ การส่งสัญญาณเสียง   
       สำหรับการส่งสัญญาญเสียงนั้น     HDMI ก็จะมีการส่งข้อมูลไปแบบไม่มีการบีบอัดเช่นเดียวกัน โดยจะเป็นข้อมูลเสียง ระดับ 192 กิโลเฮิรตซ์ และมีการ Sample แบบ 24 บิต ซึ่งเป็นระดับเสียงเดียวกับที่ใช้ในระบบเดียว Dolby Digital หรือ DTS นั่นเอง นอกจากนี้ HDMI ยังรองรับระบบเสียงแบบ 8 Channel และรองรับ One Bit Audio ซึ่งเป็นรูปแบบที่ใช้ใน Super Audio CD ด้วย แต่จะมีอัตราการส่งข้อมูลที่สูงขึ้นและมากกว่า Super Audio CD ถึง 4 เท่าด้วยกัน และยิ่งในเวอร์ชัน 1.3 ยิ่งมีการพัฒนาให้รองรับระบบเสียงที่มีคุณภาพเทียบเท่าDolby  TrueHD และ  DTS-HD  Master  Audio ด้วย
 

หน่วยความจำสำรอง

หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage)

หน่วยความจำรอง ( Secondary Storage ) หมายถึง หน่วยที่ใช้สำหรับเก็บบันทึก (Save) คำสั่งและข้อมูลเอาไว้อย่างถาวรเพื่อใช้งานในอนาคต หรือเพื่อนำส่งและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้อื่น โดยที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เก็บได้ตลอดเวลา ฮาร์ดแวร์ทีทำหน้าที่ในหน่วยความจำสำรองที่ใช้ในปัจจุบันมีหลายประเภท เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นดิสเกตต์ แผ่นซีดี แผ่นดีวีดี และยูเอสบีแฟลชไดรฟ์ ซึ่งแต่ละประเภทจะมีคุณสมบัติและข้อดีข้อเสียในการเก็บข้อมูลต่างกัน
ที่มา
http://www.thaigoodview.com/library/contest2553/type1/tech03/16/Secondary-Storage.htm

ชนิดหน่วยความจำสำรอง แบบต่างๆ

ชนิดของหน่วยความจำสำรอง
        หน่วยความจำสำรองเป็นหน่วยความจำที่สามารถรักษาข้อมูลได้ตลอดไป หลังจากได้ทำการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว หน่วยความจำสำรองมีประโยชน์ต่อระบบฐานข้อมูลเป็นอย่างมาก ถ้าปราศจากหน่วยความจำสำรองแล้วเราจะไม่สามารถเก็บรักษาข้อมูลเอาไว้ใช้ด้ในอนาคต หน่วจยความจำสำรองใช้เก็บรักษาข้อมูลและโปรแกรมเอาไว้อย่างถาวรจึงทำให้หน่วยความจำสำรองถูกใช้เป็นสื่อในการนำข้อมูลและโปรแกรมจากเครื่องคอมพิวเตอร์หนีงไปใช้ยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งได้ และนอกจากนี้หน่วยความจำสำรองยังใช้เป็นหน่วยเสริมหน่วยความจำหลัก โดยทำหน้าที่เป็นเสมือนหน่วยความจำหลัก ชื่อเรียกว่าหน่วยความจำเสมือน (virtual memory) กล่าวคือแทนที่จะดึงโปรแกรมทั้งหมดเข้าหน่วยความจำหลักที่มีจำนวนจำกัดพร้อมกันหมด คอมพิวเตอร์จะทำการจัดเก็บโปรแกรมไว้ยังหน่วยความจำเสมือนก่อน และเมื่อต้องการจึงจะดึงคำสั่งจากหน่วยความจำเสมือนเข้าหน่วยความจำหลักเพื่อทำการประมวลผล ดังนั้น จึงสามารถประมวลผลโปรแกรมแรมที่มีขนาดใหญ่กว่าหน่วยความจำหลักได้
หน่วยความจำสำรอง สามารถแบ่งตามลักษณะที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ 2 ชนิด คือ
       2.1 หน่วยความจำสำรองประเภทที่สามารถเข้าถึงข้อมูลโดยตรง เป็นหน่วยความจำสำรองที่คอมพิวเตอร์สามารถที่จะเข้าไปกระทำกับข้อมูลที่เก็บในอุปกรณ์ชนิดนั้นตรงส่วนใดก็ได้ในทันที ซึ่งเรียกการเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวว่าการเข้าถึงโดยตรงส่วนใดก็ได้ในทันที ซึ่งเรียกการเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวว่าการเข้าถึงโดยตรง หรือการเข้าถึงแบบสุ่ม (direct access หรือ random access) อุปกรณ์ชนิดที่สามารถเลื่อนหัวอ่านหรือบันทึกข้อมูลหน่วยความจำประเภทดิสก์ต่าง ๆ ดิสก์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีหลายประเภทได้แก่
- จานบันทึกแม่เหล็ก (magnetic disk) เป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้มาก และถูกใช้เป็นหน่วยเก็บข้อมูลที่ใช้ภายในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ จนถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ แต่ถึงแม้จะใช้กับเครื่องต่างขนาดกัน โครงสร้างและการใช้งานจะเหมือนกัน จานบันทึกแม่เหล็กที่นิยมใช้กันได้แก่ ฟลอปปี้ดิสก์ (floppy disk) ฮาร์ดดิสก์ (hard disk) และไมโครดิสก์ (microdisk)
- ออพติคัลดิสก์ (optical disk) เป็นอุปกรณ์ที่ถูกพัฒนาให้มีความจุมากยิ่งขึ้น ได้แก่ ซีดี-รอม (Compact Disk Read Only Memory, CDROM) วอร์ม (Write Once Read Many, WORM) และแมคนิโต ออปติคัลดิสก์ (Magneto-optical disk, MO)
- พีซีเอ็มซีไอเอ (Personal Computer Memory Card International Association, PCMCIA) เป็นหน่วยความจำที่มีขนาดเล็ก มีขนาดความกว้าง 2 นิ้ว และยาวเพียง 3 นิ้ว คล้ายเครดิตการ์ด เป็นหน่วยความจำสำรองใช้เสียบเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ในเวลาใช้งาน และเป็นที่นิยมใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก
       2.2 หน่วยความจำสำรองประเภทที่สามารถเข้าถึงข้อมูลโดยเรียงลำดับเท่านั้น เป็นหน่วยความจำสำรองประเภทที่เก็บตัวข้อมูลแบบเรียงลำดับกันไป ตั้งแต่ตำแหน่งแรกจนถึงตำแหน่งสุดท้าย เมื่อต้องการเข้าถึงข้อมูลตรงส่วนใดนั้น หัวอ่านและบันทึกจะต้องทำการอ่านหรือบันทึกข้อมูลตั้งแต่ตำแหน่งแรก เรียงลำดับกันไปจนถึงตำแหน่งสุดท้าย ซึ่งเรียกการเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวว่าการเข้าถึงแบบเรียงลำดับ (seguential access) หน่วยความจำสำรองประเภทนี้ส่วนใหญ่จะใช้งานสำรองข้อมูลของระบบ อุปกรณ์ประเภทนี้ได้แก่ เทปแม่เหล็ก
       เทปแม่เหล็กถูกใช้กับงานที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลในลักษณะของการเรียงลำดับกันไป เช่น งานสำรองข้อมูลบนหน่วยความจำประเภทแม่เหล็กเป็นหลัก เทปแม่เหล็กที่ใช้อยู่ปัจจุบันมี 2 ประเภทคือ เป็นลักษณะม้วนเรียกว่า เทปรีล (tape reel) และเทปตลับ (cartridge tape) เทปรีลถูกใช้มากในเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับใหญ่ เช่น เครื่องเมนเฟรม และเครื่องมินิ ส่วนเทปตลับสามารถใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์มินิ เทปตลับมีราคาถูกและขนาดเล็กกว่าเทปรีลมาก จนสามารถพกพาติดตัวได้สะดวก แต่มีความจุมากกว่าและราคาถูกกว่าเทปรีล และถูกเรียกว่า ตลับข้อมูล (data Cartridges)

ที่มาhttp://www.sirikitdam.egat.com/WEB_MIS/103_116/12.html

Port Input

  1. พอร์ตอินพุต (Input Port) และพอร์ตส่งสัญญาณหรือพอร์ตเอาต์พุต (Output Port) ส่วนนี้จะใช้ในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก ถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญมาก ใช้ร่วมกันระหว่างพอร์ตอินพุต เพื่อรับสัญญาณ อาจจะด้วยการกดสวิตช์ เพื่อนำไปประมวลผลและส่งไปพอร์ตเอาต์พุต เพื่อแสดงผลเช่น การติดสว่างของหลอดไฟ เป็นต้น

โครงสร้าง Port

โครงสร้างของพอร์ต


        การที่จะให้ไมโครคอนโทรลเลอร์ติดต่อกับอุปกรณ์ภายนอกได้ เช่นการรับข้อมูลจากอุปกรณ์ภายนอก (INPUT)หรือการส่งข้อมูลให้กับอุปกรณ์ภายนอก (OUTPUT) ก็จะต้องติดต่อผ่านพอร์ต (PORT) หรืออาจกล่าวได้ว่าพอร์ตคือช่องทางสำหรับการโอนย้ายข้อมูลระหว่งไมโครคอนโทรลเลอร์กับอุปกรณ์ภายนอกนั้นเอง
รูป 1 แสดงโครงสร้างภายในของพอร์ต

1.1 การใช้งานไมโครคอนโทรลเลอร์ให้เป็นพอร์ตอินพุต (INPUT PORT)
        การกำหนดให้พอร์ตหรือบิตใดๆ ของไมโครคอนโทรลเลอร์เป็นพอร์ตอินพุต หรือส่วนในการรับค่าของข้อมูลเข้ามาดังแสดงในรูป 5.2 จะเริ่มต้นด้วยการเขียนข้อมูลให้กับพอร์ตหรือบิตนั้นๆ เป็นสถานะลอจิก "1" แล้วจึงส่งไปแต่ละบิตของพอร์ตที่ต้องการใช้งาน เพื่อให้เป็นพอร์ตอินพุต เช่นใช้คำสั่ง MOV P3, #0FFH หรือคำสั่ง SETB P1.5 จะทำให้วงจรส่วนของการคงสภาวะข้อมูล หรือวงจรแลตซ์(Latch)* ซึ่งสร้างมาจากวงจร ดี ฟลิป-ฟลอป (D flip-flop) จะให้เอาต์พุต Q มีสถานะลอจิกเป็น "1" แล้วจะผ่านไปที่วงจรกลับสัญญาณ (Inverter) เพื่อให้หยุดการทำงานของเฟต (FET)* ซึ่งจะทำให้ขาสัญญาณของพอร์ตถูกเชื่อมต่อเข้ากับวงจรพูลอัป * ที่เป็นตัวต้านทานภายใน (Internal Pull up) โดยตรง ส่งผลให้ขาพอร์ตนั้นมีสถานะลอจิกเป็น "1" และสามารถจะรับสัญญาณที่เป็นลอจิก "0" จากอุปกรณ์ภายนอกได้ ข้อมูลจากอุปกรณ์ภายนอกที่ต่ออยู่ก็จะถูกส่งเข้ามาเก็บไว้ในวงจรบัฟเฟอร์ภายในพอร์ต เพื่อรอให้ซีพียูมาทำการอ่านค่าเข้าไป ดังนั้นอุปกรณ์ภายนอกที่เราจะนำมาเชื่อมต่อกับพอร์ตอินพุต จึงนิยมกำหนดให้ทำงานในสภาวะลอจิก "0"





รูป 2 แสดงการกำหนดเป็นพอร์ตอินพุตโดยให้สถานะเป็น "1" ตำแหน่งบิตที่ต้องการ
1.2 การอ่านค่าลอจิกจากพอร์ต
        การอ่านค่าลอจิกจากพอร์ตทำได้ 2 ลักษณะด้วยกันคือ การอ่านค่าจากขาพอร์ตโดยตรง (Read Pin) และ การอ่านค่าจากวงจรแลตซ์ของแต่ละพอร์ต (Read Latch) ในกรณีที่พอร์ตต่อกับขาเบสของทรานซิสเตอร์ * ชนิด NPN ให้เป็นทรานซิสเตอร์สวิตซ์ และที่ขาอิมิตเตอร์ของทรานซิสเตอร์ต่อลงกราวด์ (ดูรูป 5.3 ประกอบ) ถ้าหากมีการส่งข้อมูลให้เป็นลอจิก "1" ไปยังทรานซิสเตอร์ จะทำให้ทรานซิสเตอร์ทำงาน (นำกระแส) ส่งผลให้สถานะลอจิกที่ขาพอร์ตเป็นลอจิก "0" ด้วยเหตุผล เมื่อทรานซิสเตอร์นำกระแส จะเสมือนว่าขาพอร์ตนั้นถูกต่อลงกราวด์ ( VBE=0.6 V * ) ดังนั้นถ้าหากอ่านค่าลอจิกที่ขาพอร์ตโดยตรง (Read Pin) จะได้ผลตรงกันข้ามกับค่าลอจิกที่ส่งออกมา แต่ถ้าหากทำการอ่านค่าลอจิกที่วงจรแลตซ์ (Read Latch) จะได้สถานะลอจิกตรงกับค่าที่ส่งออกพอร์ตจริง ด้วยเหตุผลนี้ในการอ่านค่าลอจิกจากพอร์ตจึงต้องเลือกวิธีการให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ที่นำมาต่อด้วย





รูป 3 แสดงสถานะของทรานซิสเตอร์ชนิด NPN เมื่อนำมาต่อเป็นทรานซิสเตอร์สวิตซ์
1.3 การใช้งานไมโครคอนโทรลเลอร์ให้เป็นพอร์ตเอาต์พุต(OUTPUT PORT)

       การกำหนดให้มีลักษณะเป็นพอร์ตเอาต์พุต เราสามารถจะส่งข้อมูลที่เป็นลอจิกที่ต้องการออกไปได้โดยตรง เช่นถ้าเราต้องการส่งข้อมูลที่เป็นสถานะลอจิก "0" ออกไปทางพอร์ต P1 ทั้ง 8 บิต ก็สามารถที่จะเขียนโดยใช้คำสั่ง MOV P1,#00H จะทำให้เอาต์พุตของวงจรแลตซ์เป็นสถานะลอจิก "0" ซึ่งจะส่งต่อไปให้กับวงจรกลับสัญญาณทำให้มีสถานะลอจิกเป็น "1" แล้วจึงส่งต่อไปขับเฟต(FET) ให้ทำงาน ส่งผลให้ตำแหน่งของพอร์ตที่กำหนดให้ทำงานจะเป็นสถานะลอจิก "0" ในทำนองเดียวกันถ้าหากเราต้องการจะส่งข้อมูลลอจิก "1" ออกไป ก็สามารถเขียนข้อมูล "1" ไปยังวงจรแลตซ์ วงจรขับก็จะหยุดการทำงานเป็นผลทำให้ที่ขาของพอร์ตเชื่อมต่อกับวงจรพูลอัปภายในเกิดเป็นสถานะลอจิก "1" ที่ขาพอร์ตนั้น ซึ่งจะคล้ายกับการกำหนดให้เป็นขาอินพุต เพียงแต่แตกต่างกันที่กระบวนการในการเคลื่อนย้ายข้อมูล โดยถ้าเป็นอินพุต จะมีสัญญาณมาอ่านข้อมูลที่บัฟเฟอร์ แต่ถ้าเป็นเอาต์พุตจะไม่มีการอ่านข้อมูลที่บัฟเฟอร์แต่อย่างใด เว้นแต่ในกรณีที่ต้องการตรวจสอบข้อมูลที่ส่งออกมาทางเอาต์พุตเท่านั้น


ที่มาhttp://adisak-diy.com/page28.html

การออกแบบ Microprocessor 64 bit ใน Pc

Merced เป็นชื่อรหัส ของไมโครโพรเซสเซอร์ 64 บิต จาก Intel ที่จะเริ่มปรากฏใน เวิร์กสเตชัน และเครื่องแม่ข่ายระดับ enterprise ในไม่กี่ปีข้างหน้า โดยรุ่นแรกของ Intel คือ 1A –64 โดยมี bandwidth ของ I/O ที่ใหญ่ขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับไมโครโพรเซสเซอร์ 32 บิต ทำให้มีความสามารถ และเป็นไปได้ในการติดต่อแบบ dynamic กับภาพเสมือนของแบบจำลองแบบอ๊อบเจค

Microsoft กำลังทำงานกับเวอร์ชันใหม่ของ Windows NT ในการใช้ Merced ส่วน Siemans-Nixdof และ Hewlett-Packard เป็นผู้ผลิตที่กำลังวางแผนเวิร์กสเตชัน ที่ใช้ในไมโครโพรเซสเซอร์ Merced เนื่องจากโพรเซสเซอร์ 64 บิต สัญญาที่จะเพิ่มความสามารถของคอมพิวเตอร์ จะทำให้การประยุกต์ใหม่ ของงานศิลปะดิจิตอล และวิศวกรรม จะทำให้การตอบสนองเป็นแบบ real-time และการทำงานแบบกลุ่มบนเว็บ สำหรับการออกแบบงานศิลป์และวิศวกรรม การคำนวณเสมือน จะทำให้บริษัทที่ใช้ฐานข้อมูลแบบดั้งเดิมสามารถแปลง หรือหาการประยุกต์ในการดูข้อมูล และความสัมพันธ์ของข้อมูล เชิงกราฟฟิก

Microcontroller คืออะไร

 ไมโคร คอนโทรลเลอร์ เป็นอุปกรณ์ชิปไอซีพิเศษชนิดหนึ่ง ที่เราสามารถเขียนโปรแกรม
เพื่อควบคุมการทำงานตามที่ต้องการได้

ภายในไมโครคอนโทรลเลอร์จะประกอบไปด้วย

-หน่วยประมวลผล
-หน่วยความจำชั่วคราว (RAM)
-หน่วยความจำถาวร (ROM)
-พอร์ตอินพุต,เอาท์พุต 

*ส่วนพิเศษอื่นๆ จะขึ้นอยู่กับกระบวนการผลิตของแต่ละบริษัทที่จะผลิตขึ้นมา
ใ่ส่คุณสมบัติพิเศษลงไปเช่น
     - ADC (Analog to Digital) ส่วนภาครับสัญญาณอนาล็อกแปลงไปเป็นสัญญาณดิจิตอล
     - DAC (Digital to Analog) ส่วนภาคส่งสัญญาณดิจิตอลแปลงไปเป็นสัญญาณอนาล็อก
     - I2C (Inter Integrate Circuit Bus) 
เป็นการสื่อสารอนุกรม แบบซิงโครนัส (Synchronous)
เพื่อใช้ ติดต่อสื่อสาร ระหว่าง ไมโครคอนโทรลเลอร์ (MCU) กับอุปกรณ์ภายนอก
ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท Philips Semiconductors โดยใช้สายสัญญาณเพียง 2 เส้นเท่านั้น
คือ serial data (SDA) และสาย serial clock (SCL) ซึ่งสามารถ เชื่อมต่ออุปกรณ์
จำนวนหลายๆ ตัว เข้าด้วยกันได้ ทำให้ MCU ใช้พอร์ตเพียง 2 พอร์ตเท่านั้น
     - SPI (
Serial Peripheral Interface) เป็นการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์เพื่อรับส่งข้อมูลแบบ
ซิงโครนัส (Synchronize) มีสัญญาณนาฬิกาเข้ามาเกี่ยวข้องระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์
(Microcontroller) หรือจะเป็นอุปกรณ์ภายนอกที่มีการรับส่งข้อมูลแบบ SPI อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่
เป็นมาสเตอร์ (Master) โดยปกติแล้วจะเป็นไมโครคอนโทรลเลอร์ หรืออาจกล่าวได้ว่าอุปกรณ์ Master
จะต้องควบคุมอุปกรณ์ Slave ได้ โดยปกติตัว Slave มักจะเป็นไอซี (IC) หน้าที่พิเศษต่างๆ เช่น
ไอซีอุณหภูมิ, ไอซีฐานเวลานาฬิกาจริง (Real-Time Clock) หรืออาจเป็นไมโครคอนโทรลเลอร์
ที่ทำหน้าที่ในโหมด Slave ก็ได้เช่นกัน
     - PWM (Pulse Width Modulation) การสร้างสัญญาณพัลส์แบบสแควร์เวฟ
ที่สามารถปรับเปลี่่ยนความถี่และ Duty Cycle ได้เพื่อนำไปควบอุปกรณ์ต่างๆเ่ช่น มอเตอร์
     - UART (Universal Asynchronous Receiver Transmitter
ทำหน้าที่รับส่งข้อมูลแบบ
อะซิงโครนัสสำหรับมาตรฐานการรับส่งข้อมูลแบบ RS-232

ประวัติ Intel/AMD/Apple A4

อินเทล (Intel)

 เป็นบริษัทผลิตชิพสารกึ่งตัวนำที่ใหญ่ที่สุดในโลกเมื่อวัดจากรายได้ บริษัทอินเทลเป็นผู้คิดค้นไมโครโพรเซสเซอร์ตระกูลx86 ออกมาวางจำหน่าย ซึ่งเป็นไมโครโปรเซสเซอร์ที่ใช้กันมากที่สุดในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล[2] อินเทลก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1968 ในชื่อ Integrated Electronics Corporation โดยมีสำนักงานอยู่ที่ซานตาคลารา รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา อินเทลยังเป็นผู้ผลิตชิพเซตของเมนบอร์ด, เน็ตเวิร์คการ์ดและแผงวงจรรวม, แฟลชเมโมรี, ชิพกราฟิค, โปรเซสเซอร์ของระบบฝังตัว ตลอดจนอุปกรณ์อื่นๆที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และการสื่อสารอินเทลก่อตั้งขึ้นโดย กอร์ดอน มัวร์ (Gordon Moore) และโรเบิร์ต นอยซ์ (Robert Noyce) ผู้เชี่ยวชาญด้านสารกึ่งตัวนำ โดยเป็นอดีตพนักงานของ Fairchild Semiconductor พนักงานยุคแรกเริ่มที่สำคัญอีกคนของอินเทลคือ แอนดรูว์ โกรฟ ซึ่งในภายหลังเป็นผู้บริหารคนสำคัญ ที่ทำให้อินเทลก้าวขึ้นมาเป็นบริษัทระดับโลกในปัจจุบัน

ที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A5


Advanced Micro Device. (AMD) 
แอดวานซ์ ไมโคร ดีไวซ์, Inc. หรือ เอเอ็มดี เป็นบริษัทสัญชาติอเมริกัน ก่อตั้งเมื่อ ปี ค.ศ. 1969 โดยพนักงานเก่าจากบริษัท Fairchild Semiconductor โดย เอเอ็มดี ผลิตสินค้าเกี่ยวกับ เซมิคอนดัคเตอร์ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่มลรัฐแคลิฟอร์เนีย โดยเป็นผู้พัฒนา ซีพียู และเทคโนโลยีต่างๆ ออกสู่ตลาด และ ผู้ใช่ทั่วไป.โดยที่สินค้าหลักของบริษัทคือ ไมโครโพรเซสเซอร์,เมนบอร์ดชิปเซ็ต,การ์ดแสดงผล,ระบบฟังตัว สำหรับคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์,คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และ ระบบฝังตัวต่าง โดยที่ผลิตภัณฑ์ของเอเอ็มดีที่เป็นที่รู้จักได้แก่ไมโครโพรเซสเซอร์ตระกูล APU,Phenom II,Athlon IISempron, บนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล APU Mobile,DuronTurion,ในคอมพิวเตอร์แบบพกพา Opteron, สำหรับเซิร์ฟเวอร์ และชิปกราฟิก Readeon

apple a4
บริษัท Apple Computer Inc. ได้เกิดขึ้นจากการร่วมกันก่อตั้งของ สตีฟ จ็อบส์ และ สตีฟ วอซเนียก[1] ทำการปฏิวัติธุรกิจคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะในยุค 70 โดยการนำเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่ประดิษฐ์จากโรงรถออกมาขาย ในชื่อ Apple I[2][3] ที่ราคาจำหน่าย 666.66 เหรียญ[4][5][6][7][8] ในจำนวนและระยะเวลาจำกัด ภายในปีถัดมาก็ได้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำยอดจำหน่ายสูงสุดให้กับบริษัท ณ ขณะนั้นคือ Apple II ซึ่งเป็นการเปิดศักราชใหม่แห่งวงการไมโครคอมพิวเตอร์ และเป็นการสร้างมาตรฐานให้กับไมโครคอมพิวเตอร์ที่เกิดมาตามหลังทั้งหมด (อย่างไรก็ดี ในช่วงเวลาดังกล่าว ทางบริษัทจะมุ่งเน้นการขายระบบปฏิบัติการมากกว่าที่จะขายผลิตภัณฑ์ไมโครคอมพิวเตอร์ เนื่องจากประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์จากบริษัท Intel และ IBM ทำงานได้ดีกว่า)
Apple Inc. เป็นบริษัทสัญชาติอเมริกันที่ทำธุรกิจหลายแขนง ทั้งด้านอุปกรณ์อิเลคโทรนิกส์สำหรับผู้ บริโภค, ซอฟต์แวร์ของคอมพิวเตอร์ และเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยมีผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงอย่าง Macintosh ซึ่งมีหลายรุ่นด้วยกัน, iPhone, iPod และ iPad โดยซอฟต์แวร์ที่ Apple พัฒนานั้น มี Mac OS X อันเป็นซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ดีที่สุด, iTunes ที่ใช้เล่นสื่อต่างๆไม่ว่า จะเป็นเพลง, รายการทีวี, ภาพยนตร์ และล่าสุดจะรวมไปถึงในส่วนของหนังสือ ที่ใช้ร่วมกับ iPad, นอกจากนี้ ยังมี iLife อันเป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สร้างและจัดการสื่อหลายๆประเภท เช่น เพลง ภาพยนตร์ รูปภาพ เว็บไซต์ และ iWork ที่ใช้ในการทำงานเอกสารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพรีเซนเทชั่น, สื่อพิมพ์ และ ชาร์ต ตารางตัวเลข, Aperture ที่ใช้แต่งภาพและจัดการไฟล์รูปภาพในระดับมืออาชีพ, Final Cut Studio ที่ใช้ตัดต่อไฟล์งานวิดีโอในสตูดิโอชั้นนำทั่วโลก, Logic Studio ที่ใช้ในการทำเพลงอย่างแพร่หลายในสตูดิโอชั้นนำเช่นกัน
และล่าสุดได้มีการเปิดตัว iOS อันเป็นระบบปฏิบัติการที่ย่อส่วนมาจาก MAC OS X เพื่อนำมาใช้กับผลิตภัณฑ์เคลื่อนที่ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น iPhone, iPod touch, iPad และนอกจากนี้ Apple, Inc. ยังได้มีร้านค้าอย่างเป็นทางการของตนกว่า 301 สาขาใน 10 ประเทศ เพื่อตอบรับความต้องการของลูกค้าที่สนใจในผลิตภัณฑ์แอปเปิ้ลอย่างแพร่หลาย โดยที่สำคัญที่สุดยังมีการให้บริการร้านค้าออนไลน์ที่ขายทั้งอุปกรณ์ต่างๆ และซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่ เช่นกัน

Microprocessor ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ใน PC/Macintosh/Notebook/SmartPhone/Tablet

ซีพียูที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน
ซีพียูที่นิยมใช้กันในปัจจุบันเป็นของ  2  คู่แข่งแห่งค่าย  Intel คือ  Celeron, Pentium III  และ Pentium 4  ส่วนค่าย AMD มีซีพียูที่มาแรงคือ  Duron และ Thunderbird
CPU รุ่นที่ยังพอมีใช้งานกันอยู่บ้าง แต่คงไม่มีผลิตออกมาแล้ว

BrandModelSpeedFSBVcoreInterfaceTechonoly
IntelPentium II233-333 MHz66 MHz2.8 V.Slot-10.35Micron MMX L1=32K L2=512K Half Speed
IntelPentium II350-450 MHz100 MHz2.0 V.Slot-10.25Micron MMX L1=32K L2=512K Half Speed
IntelCeleron266-300 MHz66 MHz2.0 V.Slot-10.25Micron MMX L1=32K no L2
IntelCeleron300-533 MHz66 MHz2.0 V.FC-PGA 370 / Slot-10.25 Micron MMX L1=32K L2=128K Full Speed
IntelCeleron II533-766 MHz66 MHz1.50 V.FC-PGA 3700.18Micron MMX SSE Ondie L2=128K Full Speed
IntelCeleron II800-1000 MHz100 MHz1.50 V.FC-PGA 3700.18Micron MMX SSE Ondie L2=128K Full Speed
IntelCeleron II - Tualatin1.0A-1.3A GHz100 MHz1.47 V.FC-PGA 3700.18Micron MMX SSE Ondie L2=256K Full Speed
AMDK6-II266-366 MHz66 MHz2.2 V.Socket 70.25Micron MMX 3DNow! L1=64K
AMDK6-II350-500 MHz100 MHz2.2 V.Socket 70.25Micron MMX 3DNow! L1=64K
AMDK6-III400-450 MHz100 MHz2.4 V.Socket 70.25Micron MMX 3DNow! L1=64K L2=256K Full Speed
AMDK6-II+500-550 MHz100 MHz2.0 V.Socket 70.18Micron MMX 3DNow! L2=128K
AMDK6-III+450 MHz100 MHz2.0 V.Socket 70.18Micron MMX 3DNow! L2=256K
AMDAthlon K7500-1000 MHz200 MHz DDR1.60 V.Slot-A0.25Micron MMX E-3DNow! L1=128K L2=512K Half Speed
CyrixC3700-933 MHz??Socket 370?
IntelPentium III450-600 MHz100 MHz / 133 MHz2.0 V.Slot-10.25 Micron MMX SSE L1=32K ECC L2=512K Half Speed
IntelPentium III500-733 MHz100 MHz / 133 MHz1.65 V.FC-PGA 3700.18Micron MMX SSE Ondie L2=256K Full Speed
IntelPentium III800-1130 MHz133 MHz1.70 V.FC-PGA 3700.18 Micron MMX SSE Ondie L2=256K Full Speed
AMDDuron (Spitfire)600-950 MHz200 MHz DDR1.60 V.Socket A0.18Micron MMX E-3DNow! L1=128K L2=64K Full Speed
AMDDuron (Morgan)1.0-1.3 GHz200 MHz DDR1.60 V.Socket A0.18Micron MMX E-3DNow! L1=128K L2=64K Full Speed
AMDAthlon (Thunder-Bird)700-1333 MHz200/266 MHz DDR1.70 V.Socket A0.18Micron MMX E-3DNow! L1=128K L2=256K Full Speed
IntelCeleron W1.7-2.0 GHz400 MHz QDP1.70 V.FC-PGA 4230.18 Micron MMX SSE2 L2=128K Full Speed
IntelPentium 4 (423)1.3-1.8 GHz400 MHz QDP1.70 V.FC-PGA 4230.18 Micron MMX SSE2 L2=256K Full Speed
และ CPU ที่ยังมีขายและใช้งานอยู่ในตลาดขณะนี้
BrandModelSpeedFSBVcoreInterfaceTechonoly
AMDDuron
(New Core)
1.4-1.6 GHz200 MHz DDR1.60 V.Socket A0.18Micron MMX E-3DNow! L1=128K L2=64K Full Speed
AMDAthlon XP (Palamino)1500+ to 2600+266 MHz DDR1.75 V.Socket A0.18Micron MMX E-3DNow! L1=128K L2=256K Full Speed
AMDAthlon XP (Through-Bred)1700+ to 2800+266 MHz DDR1.50 - 1.60 V.Socket A0.13Micron MMX E-3DNow! L1=128K L2=256K Full Speed
AMDAthlon XP (Barton)2500+ to 3000+333 MHz DDR1.50 - 1.60 V.Socket A0.13Micron MMX E-3DNow! L1=128K L2=512K Full Speed
AMDAthon 64 FX3200+400 MHz DDR?Socket 754Athon 64-bit Core Speed 2.0 GHz L2=1M.
IntelCeleron 4 (Willamette)1.7-2.4 GHz400 MHz QDP1.70 V.FC-PGA 4780.18Micron MMX SSE2 L1=64K L2=128K Full Speed
IntelPentium 4 (Willamette)1.5-2.0 GHz400 MHz QDP1.70 V.FC-PGA 4780.18Micron MMX SSE2 L1=64K L2=256K Full Speed
IntelPentium 4A (Northwood)1.6-2.2 GHz400 MHz QDP1.50 V.FC-PGA 4780.13Micron MMX SSE2 L1=64K L2=512K Full Speed
IntelPentium 4B (Northwood)2.26-3.06 GHz533 MHz QDP1.50 V.FC-PGA 4780.13Micron MMX SSE2 L1=64K L2=512K Full Speed
IntelPentium 4C
(Northwood)
2.4-3.2 GHz800 MHz QDP1.50 V.FC-PGA 4780.13Micron MMX SSE2 L1=64K L2=512K Full Speed (HT)
การเลือกซื้อซีพียู
การเลือกซีพียูมีขั้นตอนง่ายๆในการพิจารณาคือ “ประสิทธิภาพที่คุ้มค่าต่อการใช้งานของคุณ” กล่าวคือ การจะเลือกซีพียูนั้นให้มองที่การใช้งานประจำวันของคุณเป็นหลัก
ผู้ใช้มือใหม่ เน้นราคาประหยัด
ในกลุ่มของผู้ที่เริ่มต้นใช้งานคอมพิวเตอร์และต้องการความประหยัด รวมถึงการใช้งานพื้นฐานทั่วไป ตั้งแต่ซอฟแวร์สำนักงานสเปรดซีต ดูหนัง ฟังเพลง เล่นอินเทอร์เน็ต  ที่ไม่จำเป็นต้องใช้การประมวลผลซับซ้อน และส่วนใหญ่จะประกอบเป็นพีซีในราคาประมาณ 10,000-15,000 บาท โดยซีพียูในกลุ่มดังกล่าวนี้ มีหลายรุ่นด้วยกัน ได้แก่ Celeron D/ Celeron –L/Pentium 4 จากค่าย Intel และ Sempron64/Athlon64จากทาง AMD ด้วยสนนราคาตั้งแต่ 1,000-2,500 บาท แต่ในกรณีที่มีงบประมาณสูงขึ้น Pentium Dual Core Athlon 64X2ก็นับเป็นทางเลือกที่คุ้มค่ามากทีเดียวในขณะนี้
ซีพียูที่น่าสนใจในกลุ่มนี้
Celeron D 420:1.60GH,512KBL2,800MHz,Socket775 ราคา1,300บาท
Athlon 64LE-1600:2.20GHz,102KBL2,SocketAM2ราคา1,750 บาท
Pentium Duo Core E2140:1.60GHz,1024KB L2,800MHz bus,Socket775 ราคาประมาณ 2,550 บาท

กลุ่มนักเล่นเกม
ในกลุ่มของนักเล่นเกม แม้ว่า ณ วันนี้กราฟิกการ์ดจะเข้ามามีบทบาทมากก็ตาม แต่ลำพังเพียง  GPU  (Graphic Processing Unit) ไม่ได้ทำให้ภาพโดยรวมที่เกิดขึ้นระหว่างการเล่นเกมได้สมบูรณ์เนื่องจากหากขาดซีพียูที่มีประสิทธิภาพสูงไปแล้ว การประมวลผลในด้านของการสร้างองค์ประกอบต่างๆ ภายในภาพและการคำนวณพื้นผิวและสร้างโพลิกกอนก็จะลดลง ซึ่งอาจเกิดอาการกระตุกของภาพ ดังนั้นแล้วซีพียูย่อมเข้ามามีบทบาทอย่างมากสำหรับนักเล่นเกมที่เน้นความสวยงามและความต่อเนื่อง โดยในตลาดเวลานี้ก็มีซีพียูอยู่หลายรุ่นด้วยกันที่ช่วยให้การเล่นเกมมีอรรถรสมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นซีพียูจากค่ายอินเทลที่ประด้วย  Core 2Duo ในรหัส E4xxx,E6xxx และE8xxxรวมถึง Core2Extreme สำหรับค่ายAMD ก็มีให้เลือกทั้ง Athlon 64X2 และAthlon64FX
ซีพียูที่น่าสนในกลุ่มนี้
Intel Core 2 Duo E6550 :2.33GHz,4MBL2,13333MHz bus,Socket775,ราคาประมาณ 6,000 บาท
Athlon64X25000+:2.60GHz.512KBx2L2,SocketAM2,ราคาประมาณ4,400 บาท
Athlon64FX-62:2.80GHz,1MBx2L2,SocketAM2, ราคาประมาณ 12,000 บาท
cpu
ข้อสังเกต
ซีพียู่ในกลุ่มของ Core 2 Duo จะมีให้เลือก 2 รูปแบบในซีรีส์เดียว ตัวอย่างเช่น E6850 ซึ่งทั้งคู่จะมีความคล้ายคลึงกันมาก ต่างกันเพียงระบบบัสที่เปลี่ยนจาก 1066MHz มาเป็น 1333MHz แต่ปัจจุบันจะมีเพียง E6550/E6750 และ E6850 ที่จำหน่ายอยู่เท่านั้น

การใช้งานกราฟิกเป็นหลัก 
ในบรรดากลุ่มผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ด้วยกันนั้น กลุ่มของงานกราฟิกและการตัดต่อ นับเป็นกลุ่มที่ต้องการศักยภาพในการทำงานสูงสุด เนื่องจากไม่ว่าจะเป็นระบบการเข้ารหัสไฟล์วิดีโด การตัดต่อภาพ การเรนเดอร์ออปเจ็กต์สามมิติที่มีขนาดใหญ่ ล้วนแต่พึ่งการทำงานของซีพียูเป็นหลัก ดังนั้นแล้วซีพียูที่ใช้ต้องสามารถตอบสนองต่อการประมวลผลที่ซับซ้อนได้ด ีและมีเทคโนโลยีที่รองรับโปรแกรมเฉพาะทางเหล่านี้ได้ด้วยซึ่งซีพียูที่รองรับการทำงานได้ดีในด้านนี้มีให้เลือกด้วยกันหลายรุ่นไม่ว่าจะเป็น Intel Core 2Quad หรือ AMD Phenom ที่เป็นแบบ Quad Core ที่เพิ่งวางจำหน่ายช่วงปลายปี 2550 มานี้ซีพียูที่น่าสนใจในกลุ่มนี้
Intel Core 2 Extreme 9650:3.00GHz,12MB L2 1333MHz bus,Socket 775
Intel Core 2 Quad Q6600:2.40GHz,2MBx4L21066MHz bus, Socket 775 ราคาประมาณ 9,690 บาท
AMD Phenom X4 9500 Quad Core :2.20GHz,512KBx4 L2,Socket AM2+ราคาประมาณ 6,900 บาท

ผู้ที่ชอบความเงียบของไร้เสียงรบกวน
ผู้ใช้กลุ่มนี้ จะเน้นการทำงานในระดับกลาง สำหรับการชมภาพยนตร์ในแบบโฮมเธียเตอร์และเพียงพอสำหรับการเล่นมีเดียไฟล์คุณภาพสูง (Hi-Def) กลุ่มนี้จัดเป็นกลุ่มที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบันมากทีเดียว ด้วยรูปแบบของซีพียูที่กินไฟน้อย เกิดความร้อนต่ำจึงทำให้ออกแบบการระบายความร้อนได้ง่ายขึ้น รวมถึงการใช้พัดลมน้อยลงเกิดเสียงดังรบกวนที่น้อยเนื่องจากมีเทคโนโลยี Enhance SpeedStep หรือ Cool”n  Quietจึงลดความร้อนในการทำงานลง สามารถใช้ในเคสคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กได้อีกด้วย ซีพียูที่น่าสนใจมีด้วยกันหลายรุ่นไม่ว่าจะเป็น Athlon X2 BE2xxx Series หรือซีพียูรุ่นใหม่จากอินเทลในแบบ 45nm ก็ตาม
     Intel Processor
     AMD Processor
ProcessorCodeProcessorCode
Celeron D3xx/ 4xxSempron64LE11xx
Pentium 45xx/ 6xxAthlon64LE16xx
Pentium Dual CoreE2xxxAthlon64/ AthlonX2X23000-6000+/ BE16xx
Core 2 DuoE4xxx/ E6xxxAthlonFX/ OptreonFX-xx/ 1xx, 2xx, 4xx, 6xx
Core 2 Extreme/ Core 2 QuardQX6xxx/ Q6xxx
ตรวจสอบความถูกต้องของซีพียูง่ายๆ ได้ด้วยตัวเอง
  • ดูจาก Properties ด้วยการคลิกขวาที่ My Computer จะบอกรุ่นซีพียูไว้ที่หน้าต่าง General
  • ใช้โปรแกรม CPUz ที่ดาวน์โหลดได้จาก www.cpuid.com/cpuz.php ซึ่งจะบอกรายละเอียดของซีพียูได้อย่างครบถ้วนไม่ว่าจะเป็น ความเร็ว แคช ฟีเจอร์
องค์ประกอบและเงื่อนไขในการรับประกัน
การรับประกันเป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้ทีเดียว โดยเฉพาะกับซีพียูที่ค่อนข้างมีความอ่อนไหวและมีราคาที่สูง หากเกินความเสียหายหรือมีอาการผิดปกติขึ้นในระหว่างการใช้งานส่วนของการรับประกันจะจำเป็นมากทีเดียว โดยส่วนใหญ่การรับประกันจะมีตั้งแต่ 1-5 ปี ขึ้นอยู่กับผู้จำหน่ายแต่ละรายกำหนดไว้ ซึ่งสิ่งสำคัญ
อย่างไรก็ตามการประกันก็ต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของผู้จำหน่ายด้วย โดยส่วนใหญ่ที่เป็นมาตรฐานก็คือไม่แตกหักเสียหาย ด้วยกายภาพภายนอกหรือไม่เกิดจากการไหม้หรือระเบิด รวมไปถึงบางรายจำเป็นต้องนำอุปกรณ์ต่างๆในกล่องมายืนยันด้วยอันประกอบไปด้วย การ์ดรับประกัน พัดลมและตัวซีพียู แต่ในบางครั้งก็ใช้เพียงซีพียูและ Serial Number มายืนยันเท่านั้นขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จำหน่าย