CPU รุ่นที่ยังพอมีใช้งานกันอยู่บ้าง แต่คงไม่มีผลิตออกมาแล้ว |
Brand | Model | Speed | FSB | Vcore | Interface | Techonoly |
Intel | Pentium II | 233-333 MHz | 66 MHz | 2.8 V. | Slot-1 | 0.35Micron MMX L1=32K L2=512K Half Speed |
Intel | Pentium II | 350-450 MHz | 100 MHz | 2.0 V. | Slot-1 | 0.25Micron MMX L1=32K L2=512K Half Speed |
Intel | Celeron | 266-300 MHz | 66 MHz | 2.0 V. | Slot-1 | 0.25Micron MMX L1=32K no L2 |
Intel | Celeron | 300-533 MHz | 66 MHz | 2.0 V. | FC-PGA 370 / Slot-1 | 0.25 Micron MMX L1=32K L2=128K Full Speed |
Intel | Celeron II | 533-766 MHz | 66 MHz | 1.50 V. | FC-PGA 370 | 0.18Micron MMX SSE Ondie L2=128K Full Speed |
Intel | Celeron II | 800-1000 MHz | 100 MHz | 1.50 V. | FC-PGA 370 | 0.18Micron MMX SSE Ondie L2=128K Full Speed |
Intel | Celeron II - Tualatin | 1.0A-1.3A GHz | 100 MHz | 1.47 V. | FC-PGA 370 | 0.18Micron MMX SSE Ondie L2=256K Full Speed |
AMD | K6-II | 266-366 MHz | 66 MHz | 2.2 V. | Socket 7 | 0.25Micron MMX 3DNow! L1=64K |
AMD | K6-II | 350-500 MHz | 100 MHz | 2.2 V. | Socket 7 | 0.25Micron MMX 3DNow! L1=64K |
AMD | K6-III | 400-450 MHz | 100 MHz | 2.4 V. | Socket 7 | 0.25Micron MMX 3DNow! L1=64K L2=256K Full Speed |
AMD | K6-II+ | 500-550 MHz | 100 MHz | 2.0 V. | Socket 7 | 0.18Micron MMX 3DNow! L2=128K |
AMD | K6-III+ | 450 MHz | 100 MHz | 2.0 V. | Socket 7 | 0.18Micron MMX 3DNow! L2=256K |
AMD | Athlon K7 | 500-1000 MHz | 200 MHz DDR | 1.60 V. | Slot-A | 0.25Micron MMX E-3DNow! L1=128K L2=512K Half Speed |
Cyrix | C3 | 700-933 MHz | ? | ? | Socket 370 | ? |
Intel | Pentium III | 450-600 MHz | 100 MHz / 133 MHz | 2.0 V. | Slot-1 | 0.25 Micron MMX SSE L1=32K ECC L2=512K Half Speed |
Intel | Pentium III | 500-733 MHz | 100 MHz / 133 MHz | 1.65 V. | FC-PGA 370 | 0.18Micron MMX SSE Ondie L2=256K Full Speed |
Intel | Pentium III | 800-1130 MHz | 133 MHz | 1.70 V. | FC-PGA 370 | 0.18 Micron MMX SSE Ondie L2=256K Full Speed |
AMD | Duron (Spitfire) | 600-950 MHz | 200 MHz DDR | 1.60 V. | Socket A | 0.18Micron MMX E-3DNow! L1=128K L2=64K Full Speed |
AMD | Duron (Morgan) | 1.0-1.3 GHz | 200 MHz DDR | 1.60 V. | Socket A | 0.18Micron MMX E-3DNow! L1=128K L2=64K Full Speed |
AMD | Athlon (Thunder-Bird) | 700-1333 MHz | 200/266 MHz DDR | 1.70 V. | Socket A | 0.18Micron MMX E-3DNow! L1=128K L2=256K Full Speed |
Intel | Celeron W | 1.7-2.0 GHz | 400 MHz QDP | 1.70 V. | FC-PGA 423 | 0.18 Micron MMX SSE2 L2=128K Full Speed |
Intel | Pentium 4 (423) | 1.3-1.8 GHz | 400 MHz QDP | 1.70 V. | FC-PGA 423 | 0.18 Micron MMX SSE2 L2=256K Full Speed |
และ CPU ที่ยังมีขายและใช้งานอยู่ในตลาดขณะนี้
Brand | Model | Speed | FSB | Vcore | Interface | Techonoly |
AMD | Duron
(New Core) | 1.4-1.6 GHz | 200 MHz DDR | 1.60 V. | Socket A | 0.18Micron MMX E-3DNow! L1=128K L2=64K Full Speed |
AMD | Athlon XP (Palamino) | 1500+ to 2600+ | 266 MHz DDR | 1.75 V. | Socket A | 0.18Micron MMX E-3DNow! L1=128K L2=256K Full Speed |
AMD | Athlon XP (Through-Bred) | 1700+ to 2800+ | 266 MHz DDR | 1.50 - 1.60 V. | Socket A | 0.13Micron MMX E-3DNow! L1=128K L2=256K Full Speed |
AMD | Athlon XP (Barton) | 2500+ to 3000+ | 333 MHz DDR | 1.50 - 1.60 V. | Socket A | 0.13Micron MMX E-3DNow! L1=128K L2=512K Full Speed |
AMD | Athon 64 FX | 3200+ | 400 MHz DDR | ? | Socket 754 | Athon 64-bit Core Speed 2.0 GHz L2=1M. |
Intel | Celeron 4 (Willamette) | 1.7-2.4 GHz | 400 MHz QDP | 1.70 V. | FC-PGA 478 | 0.18Micron MMX SSE2 L1=64K L2=128K Full Speed |
Intel | Pentium 4 (Willamette) | 1.5-2.0 GHz | 400 MHz QDP | 1.70 V. | FC-PGA 478 | 0.18Micron MMX SSE2 L1=64K L2=256K Full Speed |
Intel | Pentium 4A (Northwood) | 1.6-2.2 GHz | 400 MHz QDP | 1.50 V. | FC-PGA 478 | 0.13Micron MMX SSE2 L1=64K L2=512K Full Speed |
Intel | Pentium 4B (Northwood) | 2.26-3.06 GHz | 533 MHz QDP | 1.50 V. | FC-PGA 478 | 0.13Micron MMX SSE2 L1=64K L2=512K Full Speed |
Intel | Pentium 4C
(Northwood) | 2.4-3.2 GHz | 800 MHz QDP | 1.50 V. | FC-PGA 478 | 0.13Micron MMX SSE2 L1=64K L2=512K Full Speed (HT) |
|
|
การเลือกซีพียูมีขั้นตอนง่ายๆในการพิจารณาคือ “ประสิทธิภาพที่คุ้มค่าต่อการใช้งานของคุณ” กล่าวคือ การจะเลือกซีพียูนั้นให้มองที่การใช้งานประจำวันของคุณเป็นหลัก
ผู้ใช้มือใหม่ เน้นราคาประหยัด
ในกลุ่มของผู้ที่เริ่มต้นใช้งานคอมพิวเตอร์และต้องการความประหยัด รวมถึงการใช้งานพื้นฐานทั่วไป ตั้งแต่ซอฟแวร์สำนักงานสเปรดซีต ดูหนัง ฟังเพลง เล่นอินเทอร์เน็ต ที่ไม่จำเป็นต้องใช้การประมวลผลซับซ้อน และส่วนใหญ่จะประกอบเป็นพีซีในราคาประมาณ 10,000-15,000 บาท โดยซีพียูในกลุ่มดังกล่าวนี้ มีหลายรุ่นด้วยกัน ได้แก่ Celeron D/ Celeron –L/Pentium 4 จากค่าย Intel และ Sempron64/Athlon64จากทาง AMD ด้วยสนนราคาตั้งแต่ 1,000-2,500 บาท แต่ในกรณีที่มีงบประมาณสูงขึ้น Pentium Dual Core Athlon 64X2ก็นับเป็นทางเลือกที่คุ้มค่ามากทีเดียวในขณะนี้
ซีพียูที่น่าสนใจในกลุ่มนี้
Celeron D 420:1.60GH,512KBL2,800MHz,Socket775 ราคา1,300บาท
Athlon 64LE-1600:2.20GHz,102KBL2,SocketAM2ราคา1,750 บาท
Pentium Duo Core E2140:1.60GHz,1024KB L2,800MHz bus,Socket775 ราคาประมาณ 2,550 บาท
กลุ่มนักเล่นเกม
ในกลุ่มของนักเล่นเกม แม้ว่า ณ วันนี้กราฟิกการ์ดจะเข้ามามีบทบาทมากก็ตาม แต่ลำพังเพียง GPU (Graphic Processing Unit) ไม่ได้ทำให้ภาพโดยรวมที่เกิดขึ้นระหว่างการเล่นเกมได้สมบูรณ์เนื่องจากหากขาดซีพียูที่มีประสิทธิภาพสูงไปแล้ว การประมวลผลในด้านของการสร้างองค์ประกอบต่างๆ ภายในภาพและการคำนวณพื้นผิวและสร้างโพลิกกอนก็จะลดลง ซึ่งอาจเกิดอาการกระตุกของภาพ ดังนั้นแล้วซีพียูย่อมเข้ามามีบทบาทอย่างมากสำหรับนักเล่นเกมที่เน้นความสวยงามและความต่อเนื่อง โดยในตลาดเวลานี้ก็มีซีพียูอยู่หลายรุ่นด้วยกันที่ช่วยให้การเล่นเกมมีอรรถรสมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นซีพียูจากค่ายอินเทลที่ประด้วย Core 2Duo ในรหัส E4xxx,E6xxx และE8xxxรวมถึง Core2Extreme สำหรับค่ายAMD ก็มีให้เลือกทั้ง Athlon 64X2 และAthlon64FX
ซีพียูที่น่าสนในกลุ่มนี้
Intel Core 2 Duo E6550 :2.33GHz,4MBL2,13333MHz bus,Socket775,ราคาประมาณ 6,000 บาท
Athlon64X25000+:2.60GHz.512KBx2L2,SocketAM2,ราคาประมาณ4,400 บาท
Athlon64FX-62:2.80GHz,1MBx2L2,SocketAM2, ราคาประมาณ 12,000 บาท
ข้อสังเกต
ซีพียู่ในกลุ่มของ Core 2 Duo จะมีให้เลือก 2 รูปแบบในซีรีส์เดียว ตัวอย่างเช่น E6850 ซึ่งทั้งคู่จะมีความคล้ายคลึงกันมาก ต่างกันเพียงระบบบัสที่เปลี่ยนจาก 1066MHz มาเป็น 1333MHz แต่ปัจจุบันจะมีเพียง E6550/E6750 และ E6850 ที่จำหน่ายอยู่เท่านั้น
การใช้งานกราฟิกเป็นหลัก
ในบรรดากลุ่มผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ด้วยกันนั้น กลุ่มของงานกราฟิกและการตัดต่อ นับเป็นกลุ่มที่ต้องการศักยภาพในการทำงานสูงสุด เนื่องจากไม่ว่าจะเป็นระบบการเข้ารหัสไฟล์วิดีโด การตัดต่อภาพ การเรนเดอร์ออปเจ็กต์สามมิติที่มีขนาดใหญ่ ล้วนแต่พึ่งการทำงานของซีพียูเป็นหลัก ดังนั้นแล้วซีพียูที่ใช้ต้องสามารถตอบสนองต่อการประมวลผลที่ซับซ้อนได้ด ีและมีเทคโนโลยีที่รองรับโปรแกรมเฉพาะทางเหล่านี้ได้ด้วยซึ่งซีพียูที่รองรับการทำงานได้ดีในด้านนี้มีให้เลือกด้วยกันหลายรุ่นไม่ว่าจะเป็น Intel Core 2Quad หรือ AMD Phenom ที่เป็นแบบ Quad Core ที่เพิ่งวางจำหน่ายช่วงปลายปี 2550 มานี้ซีพียูที่น่าสนใจในกลุ่มนี้
Intel Core 2 Extreme 9650:3.00GHz,12MB L2 1333MHz bus,Socket 775
Intel Core 2 Quad Q6600:2.40GHz,2MBx4L21066MHz bus, Socket 775 ราคาประมาณ 9,690 บาท
AMD Phenom X4 9500 Quad Core :2.20GHz,512KBx4 L2,Socket AM2+ราคาประมาณ 6,900 บาท
ผู้ที่ชอบความเงียบของไร้เสียงรบกวน
ผู้ใช้กลุ่มนี้ จะเน้นการทำงานในระดับกลาง สำหรับการชมภาพยนตร์ในแบบโฮมเธียเตอร์และเพียงพอสำหรับการเล่นมีเดียไฟล์คุณภาพสูง (Hi-Def) กลุ่มนี้จัดเป็นกลุ่มที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบันมากทีเดียว ด้วยรูปแบบของซีพียูที่กินไฟน้อย เกิดความร้อนต่ำจึงทำให้ออกแบบการระบายความร้อนได้ง่ายขึ้น รวมถึงการใช้พัดลมน้อยลงเกิดเสียงดังรบกวนที่น้อยเนื่องจากมีเทคโนโลยี Enhance SpeedStep หรือ Cool”n Quietจึงลดความร้อนในการทำงานลง สามารถใช้ในเคสคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กได้อีกด้วย ซีพียูที่น่าสนใจมีด้วยกันหลายรุ่นไม่ว่าจะเป็น Athlon X2 BE2xxx Series หรือซีพียูรุ่นใหม่จากอินเทลในแบบ 45nm ก็ตาม
Intel Processor
|
AMD Processor
|
Processor | Code | Processor | Code |
Celeron D | 3xx/ 4xx | Sempron64 | LE11xx |
Pentium 4 | 5xx/ 6xx | Athlon64 | LE16xx |
Pentium Dual Core | E2xxx | Athlon64/ AthlonX2 | X23000-6000+/ BE16xx |
Core 2 Duo | E4xxx/ E6xxx | AthlonFX/ Optreon | FX-xx/ 1xx, 2xx, 4xx, 6xx |
Core 2 Extreme/ Core 2 Quard | QX6xxx/ Q6xxx | | |
ตรวจสอบความถูกต้องของซีพียูง่ายๆ ได้ด้วยตัวเอง
- ดูจาก Properties ด้วยการคลิกขวาที่ My Computer จะบอกรุ่นซีพียูไว้ที่หน้าต่าง General
- ใช้โปรแกรม CPUz ที่ดาวน์โหลดได้จาก www.cpuid.com/cpuz.php ซึ่งจะบอกรายละเอียดของซีพียูได้อย่างครบถ้วนไม่ว่าจะเป็น ความเร็ว แคช ฟีเจอร์
องค์ประกอบและเงื่อนไขในการรับประกัน
การรับประกันเป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้ทีเดียว โดยเฉพาะกับซีพียูที่ค่อนข้างมีความอ่อนไหวและมีราคาที่สูง หากเกินความเสียหายหรือมีอาการผิดปกติขึ้นในระหว่างการใช้งานส่วนของการรับประกันจะจำเป็นมากทีเดียว โดยส่วนใหญ่การรับประกันจะมีตั้งแต่ 1-5 ปี ขึ้นอยู่กับผู้จำหน่ายแต่ละรายกำหนดไว้ ซึ่งสิ่งสำคัญ
อย่างไรก็ตามการประกันก็ต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของผู้จำหน่ายด้วย โดยส่วนใหญ่ที่เป็นมาตรฐานก็คือไม่แตกหักเสียหาย ด้วยกายภาพภายนอกหรือไม่เกิดจากการไหม้หรือระเบิด รวมไปถึงบางรายจำเป็นต้องนำอุปกรณ์ต่างๆในกล่องมายืนยันด้วยอันประกอบไปด้วย การ์ดรับประกัน พัดลมและตัวซีพียู แต่ในบางครั้งก็ใช้เพียงซีพียูและ Serial Number มายืนยันเท่านั้นขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จำหน่าย |
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น